เมนู

7. สัมภูตเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสัมภูตเถระ


[329] ผู้ใดรีบด่วนในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่ควรรีบ
ด่วน ผู้นั้นเป็นพาลย่อมประสพทุกข์ เพราะไม่จัดแจงโดย
อุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมเสื่อมไป เหมือน
พระจันทร์ข้างแรม เขาย่อมถึงความเสื่อมยศ และแตก
จากมิตรทั้งหลาย ผู้ใดช้า ในเวลาที่ควรช้า รีบด่วนในเวลา
ที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นบัณฑิตถึงความสุข เพราะได้
จัดแจงโดยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์
เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น เขาย่อมได้ยศ ได้เกียรติคุณ
และไม่แตกจากมิตรทั้งหลาย.

จบสัมภูตเถรคาถา

อรรถกถาสัมภูตเถรคาถาที่ 7



คาถาของท่านพระสัมภูตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย ทนฺธกาเล ดังนี้
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
บำเพ็ญบุญในภพนั้น ๆ เมื่อโลกว่างพระพุทธเจ้า บังเกิดในกำเนิดกินนร
ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมีจิตเลื่อมใส
ไหว้แล้ว กระทำอัญชลีได้กระทำการบูชาด้วยดอกอัญชัน.
ด้วยบุญกรรมนั้น เธอท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ฟังธรรมในสำนักของพระธรรมภัณฑาคาริกภายหลัง

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน ได้ศรัทธาบวชแล้วกระทำสมณธรรม
เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหันต์. ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวไว้ในอปทาน1ว่า
ครั้งนั้นเราเป็นกินนร อยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้
เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี มีความเลื่อมใส
โสมนัสเกิดความปราโมทย์ ประนมอัญชลีแล้วถือเอาดอก
รกฟ้าขาวมาบูชาพระสยัมภู ด้วยกรรมที่เราทำไว้ดีแล้ว
นั้น และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้ เราละร่างกินนรแล้ว
ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราได้เป็นจอมเทพเสวยราช-
สมบัติในเทวโลก 36 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวย-
ราชสมบัติอันใหญ่ 10 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราช
อันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ พืชอันหว่านในเนื้อนาอันดี
คือพระสยัมภู ได้สำเร็จผลเป็นอันดีแก่เราแล้ว กุศลของ
เรามีอยู่ เราบวชเป็นบรรพชิต ทุกวันนี้ เราควรแก่การ
บูชาในศาสนาของพระศากยบุตร เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว . . .ฯลฯ . . . พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็แลท่านครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่วิมุตติ เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี เมื่อภิกษุผู้เป็นบุตรแห่งเจ้าวัชชี
ชาวกรุงเวสาลี ยกย่องวัตถุ 100 ประการ เมื่อพระขีณาสพ 500 รูป ผู้
อันพระยสกากัณฑกบุตตรเถระกระตุ้นเตือนให้อาจหาญขึ้น ทำลายทิฏฐินั้น
ยกย่องพระสัทธรรม กระทำสังคายนาพระธรรมวินัย เพราะความสังเวช
ในธรรม ในการที่ภิกษุชาวเมืองวัชชีบุตรแสดงสัตถุศาสน์นอกธรรมนอก
1. ขุ. อ. 33/ข้อ 106.

วินัย พระเถระเมื่อจะกล่าวคาถาเหล่านี้พยากรณ์พระอรหัตผล1ว่า:-
ผู้ใดรีบด่วนในเวลาที่ควรช้า แลช้าในเวลาที่ควรรีบ-
ด่วน ผู้นั้นเป็นพาลย่อมประสพทุกข์ เพราะไม่จัดแจงโดย
อุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมเสื่อมไป เหมือน
พระจันทร์ข้างแรม เขาย่อมถึงความเสื่อมยศ และแตก
จากมิตรทั้งหลาย ผู้ใดช้าในเวลาที่ควรช้า รีบด่วนในเวลา
ที่ควรรีบด่วน ผู้นั้นเป็นบัณฑิตถึงความสุข เพราะได้จัด-
แจงด้วยอุบายอันชอบ ประโยชน์ของผู้นั้นย่อมบริบูรณ์
เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น เขาย่อมได้ยศ ได้เกียรติคุณ
และไม่แตกจากมิตรทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ทนฺธกาเล ตรติ ความว่า เมื่อ
เกิดความสงสัยในพระวินัยในเพราะวัตถุไร ๆ ที่ควรทำขึ้นว่า สิ่งนี้ควร
หรือไม่ควรหนอ ดังนี้ ครั้นถามพระวินัยธรผู้เชี่ยวชาญแล้ว ยังบรรเทา
ความสงสัยนั้นไม่ได้ เพียงใด ย่อมด่วนคือย่ำยีกระทำ แม้ก้าวล่วงในเวลา
ช้า คือในสมัยที่ไม่ได้จะพึงให้กิจนั้นช้า เพียงนั้น.
บทว่า ตรณีเย จ ทนฺธเย ความว่า เมื่อกิจของคฤหัสถ์ มี
สรณคมน์และการสมาทานศีลเป็นต้น และกิจของบรรพชิต มีการกระทำ
วัตรและปฏิวัตรเป็นต้น และการตามประกอบสมถะและวิปัสสนาที่ควรรีบ
ด่วนมาถึงเข้า อย่ารีบประกอบกิจนั้น ควรให้ช้าด้วยคิดว่า เราจักกระทำใน
เดือนที่จะมาถึงหรือในวันปักษ์ เมื่อไม่ทำกิจนั้นเลย ชื่อว่า ปล่อยให้กาล
ผ่านไป.

1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 329.

บทว่า อโยนิสํวิธาเนน ความว่า บุคคลผู้เป็นพาลคือผู้มีปัญญา
อ่อน เมื่อด่วนในเวลาที่ควรช้า และช้าในเวลาที่ควรรีบด่วน ย่อม
ประสพทุกข์ คือความพินาศ ในบัดเดี๋ยวนี้และในกาลต่อไป ด้วยการ
ไม่จัดแจงอุบาย คือเพราะไม่มีการจัดแจงอุบาย.
บทว่า ตสฺสตฺถา ปริหายนฺติ ความว่า ประโยชน์ทั้งหลายอัน
ต่างด้วยประโยชน์ในปัจจุบันเป็นต้น ของบุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น
ย่อมเสื่อมไปเหมือนพระจันทร์ข้างแรม คือย่อมถึงความหมดสิ้นไป
ทุกวัน ๆ ได้แก่ย่อมถึงคือย่อมประสพความเสื่อมยศ คือซึ่งความเป็นผู้
อันวิญญูชนพึงติเตียน โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลโน้นเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่มี
ความเลื่อมใส เกียจคร้านมีความเพียรเลว.
บทว่า มิตฺเตหิ จ ริรุชฺฌติ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดีด้วย
การรับโอวาทว่า พวกเราไม่ควรถูกว่ากล่าว (ดูหมิ่น) จากกัลยาณมิตรผู้
ให้โอวาทว่า ท่านจงปฏิบัติอย่างนี้ จงอย่าปฏิบัติอย่างนี้.
พึงทราบความโดยปริยายตรงกันข้าม แห่งคาถาทั้งสองที่เหลือ.
แต่ในที่นี้อาจารย์บางพวกยกเอาการยกย่อง และการข่มจิตอันประกอบด้วย
ภาวนาด้วยอัตภาพ (ความเป็นตัวตน) แห่งบทว่า ย่อมรีบด่วนในเวลาช้า
คำนั้นย่อมควรในคาถาหลัง. จริงอยู่ 2 คาถาต้น พระเถระกล่าวหมาย
เอาภิกษุวัชชีบุตรผู้ไม่การทำสมณธรรมที่ควรประพฤติตั้งแต่บวช มาแสดง
วัตถุ 10 ประการ เพราะความมีตนมีความสงสัยเป็นปกติ ถูกสงฆ์ขับไล่
ให้ออกไป แต่ 2 คาถาหลังกล่าวหมายเอาผู้ปฏิบัติเหมือนกับตน ยังประ-
โยชน์ของตนให้สำเร็จแล้วดำรงอยู่ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสัมภูตเถรคาถาที่ 7

8. ราหุลเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระราหุลเถระ


[330] ชนทั้งหลายย่อมรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ สมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ 2 ประการ คือ ชาติสมบัติ 1 ปฏิบัติ-
สมบัติ 1 เพราะเราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และ
เป็นผู้มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เพราะอาสวะของ
เราสิ้นไปและภพใหม่ไม่มีต่อไป เราเป็นพระอรหันต์ เป็น
พระทักขิไณยบุคคล มีวิชชา 3 เป็นผู้เห็นอมตธรรม สัตว์
ทั้งหลายเป็นดังคนตาบอด เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษใน
กาม ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมแล้ว ถูกหลังคาคือตัณหา
ปกปิดแล้ว ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูกคือความประมาท
เหมือนปลาในปากไซ เราถอนกามนั้นขึ้นได้แล้ว ตัด
เครื่องผูกของมารได้แล้ว ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว
เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับแล้ว.

จบราหุลเถรคาถา

อรรถกถาราหุลเถรคาถาที่ 8



คาถาของท่านพระราหุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุภเยน ดังนี้.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญในภพนั้น ๆ ในการแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระบังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เห็นพระ-